สถานการณ์และนโยบายในต่างประเทศ

          การใช้สุนัขนำทางแก่คนพิการทางสายตาในชีกโลกตะวันตกและบางประเทศในเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ได้รับความนิยมและเป็นที่แพร่หลายมานาน
           ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศแรกที่เปิดหลักสูตรสุนัขนำทาง และมีการตั้งโรงเรียนฝึกสุนัขนำทางขึ้น โดยทางโรงเรียนจะผสมพันธุ์สุนัขเอง จากนั้นในแต่ละปีจะมีอาสาสมัครนำสุนัขไปฝึกใช้ชีวิตในบ้านชุดละ 30 ตัว ปีละ 10 - 12 ชุด เมื่อครบกำหนดอาสาสมัครต้องนำสุนัขเหล่านั้นมาคืนให้ทางโรงเรียน เพื่อคัดสุนัขให้ตรงตามมาตรฐานที่กำหนดไว้
            สุนัขที่ผ่านเกณฑ์จะถูกนำไปฝึกเพื่อทำหน้าที่เป็นสุนัขนำทางเป็นเวลา 6 เดือน หลังจากนั้นจึงให้คนพิการทางสายตาได้ฝึกทำความคุ้นเคยกับสุนัขเป็นเวลา 1 ปี คนพิการทางสายตาจะไม่มีสิทธิ์เลือกสุนัขเอง แต่ครูฝึกจะให้เวลา 11 วันเป็นตัวพิสูจน์ว่าสุนัขนั้นเข้ากับเจ้าของได้หรือไม่ ถ้าเข้ากันไม่ได้ครูฝึกจะเปลี่ยนสุนัขตัวใหม่ให้ทันที

นโยบายภาครัฐบาล

          (สหรัฐอเมริกา) ตามที่กฎหมายสหรัฐอเมริกาคนพิการ (The American Disabilities Act : ADA) ระบุไว้ว่า สุนัขที่ให้การช่วยเหลือคนพิการทั้งพิการทางตา หู หรือพิการทางร่างกายไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ สุนัขช่วยเหลือจะได้รับการคุ้มครองเป็นพิเศษภายใต้กฎหมายของADA สามารถเข้าไปในพื้นที่สาธารณะต่างได้โดยไม่ผิดกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร โรงภาพยนตร์ เครื่องบิน เป็นต้น  โดยสุนัขคนพิการมีความแตกต่างจากสุนัขทั่วไป ตรงที่สุนัขทั่วไปเป็นสัตว์เลี้ยงจึงไม่มีสิทธิพิเศษอย่างสุนัขช่วยเหลือ อย่างไรก็ตามสุนัขช่วยเหลือจะได้การรับรองสิทธิพิเศษต้องมีใบรับรองว่าเป็นสุนัขช่วยเหลือที่ถูกต้องตามกฎหมายเสียก่อน
           (อังกฤษ) นโยบายของประเทศอังกฤษจะชัดเจนคือ สุนัขนำทางคนพิการทางสายตาจะฟรี โดยคนพิการทางสายตาที่ต้องการสุนัขนำทางแค่ส่งใบสมัคร โดยระบุส่วนสูง น้ำหนัก สภาพความเป็นอยู่ สถานที่ทำงาน ซึ่งรัฐบาลจะคัดกรองสุนัขให้ใกล้เคียงกับการดำรงชีวิตของคนพิการมากที่สุด เรื่องค่าใช้จ่ายสำหรับสุนัขนำทาง 1 ตัว ประมาณ 30 บาทของเงินไทย (ซึ่งจะเสียเฉพาะค่าเอกสารเท่านั้น) ส่วนค่าอื่นๆ เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าอาหารของสุนัข ภาครัฐจะเป็นผผู้สนับสนุนทั้งหมด รวมไปถึงสถานที่อยู่อาศัยของคนพิการทางสายตาที่ใช้สุนัขทำทาง สามารถร้องขอต่อรัฐบาลให้ปรับที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการใช้สุนัขนำทางได้

นโยบายภาคเอกชน
            นอกจากองค์กร The seeing eyes และองค์กร Guide dogs of America แล้วในปัจจุบันยังมีองค์กรอีกหลายองค์กรได้ก่อตั้งโรงเรียนเพื่อเพาะพันธุ์ และฝึกสุนัขนำทางขึ้นในเมืองต่างๆ 

นโยบายภาคประชาสังคม
             ในช่วงแรกที่คนพิการทางสายตาได้นำสุนัขนำทางกลับมาที่บ้าน จะมีคนของรัฐบาลและโรงเรียนที่ฝึกสุนัขมาเยี่ยมบ้าน เพื่อเช็คความเป็นของเจ้าของและสุนัขนำทาง และมีการตรวจสุขภาพของสุนัขทำทาง  หลังจากนั้นการเยี่ยมก็จะค่อยๆห่างไปเรื่อยๆ ต่อไปจะเป็นหน้าที่ของเจ้าของสุนัขนำทางที่ต้องพาสุนัขไปพบแพทย์เอง ตามตารางที่ทางโรงเรียนได้กำหนดให้ มี 2 แบบ คือ การตรวจทุกๆ 3 เดือน และการตรวจทุกๆ 6 เดือน




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น